page loader


ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ให้มีความทันสมัย

image blog

พ.ศ. 2559 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ให้มีความทันสมัยและเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น ดังนี้

เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification System) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification System) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สัญญาณคลื่นวิทยุในการตรวจสอบและระบุตำแหน่งวัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการของศูนย์บรรณสารฯ ได้เป็นอย่างดี โดยระบบจะอ่านข้อมูลจากแผ่นข้อมูล RFID Tag ที่ติดอยู่กับหนังสือ และเชื่อมโยงกับโปรแกรมระบบบริหารงานของศูนย์บรรณสารฯ ในการควบคุมการเข้า-ออก การตรวจสอบสถานภาพการยืม การสำรวจ และการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศภายในศูนย์บรรณสารฯ และเพื่อรองรับการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเองผ่านเครื่องยืม-คืน อัตโนมัติ

browser iphone

ห้องสมุด miniTCDC

มหาวิทยาลัยพะเยา ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่อยู่ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเข้าถึงความรู้ด้านการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ท้องถิ่นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ และที่มีรากฐานมาจากต้นทุนทาง วัฒนธรรม โดยได้ปรับเปลี่ยนห้อง COMMON ROOM ให้เป็นห้องสมุด miniTCDC หรือโครงการกระจายโอกาสสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านการออกแบบสู่ภูมิภาค บริการฉบับย่อส่วนของ TCDC ในรูปแบบของห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ พร้อมชั้นหนังสือบรรจุหนังสือจำนวน 250 รายการ และตัวอย่างวัสดุ 12 ชิ้น ที่จะผลัดเปลี่ยนไปทุกภาคการศึกษา เพื่อความทันสมัยของข้อมูล รวมถึงบริการฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์ ตลอดจนนิทรรศการขนาดย่อม ซึ่งจะหมุนเวียนนำไปจัดที่สถาบันการศึกษา 13 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ยังมีการจัดบรรยาย สัมมนา เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ รวมทั้งผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ห้องสมุด miniTCDC มีบรรณารักษ์ประจำ 1 ท่าน เพื่อให้บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพะเยา

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีภารกิจด้านการให้บริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานหอจดหมายเหตุ จึงได้จัดทำโครงการหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดเก็บประวัติมหาวิทยาลัย ประวัติอธิการบดี และผลงาน ผู้ที่ได้รับรางวัล ผู้ที่ได้รับรางวัลดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ รวมทั้งเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จัดเก็บทั้งรูปสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการ โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้ปรับปรุงห้องกระจก ชั้น 2 ให้เป็นห้องหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพะเยา รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดทั้งปี

browser iphone
browser iphone

ห้องสมุดในสวน

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ปรับปรุงพื้นที่ระเบียง ชั้น 3 ให้เป็น ห้องสมุดในสวน เพื่อเพิ่มพื้นที่นั่งอ่านของนิสิตและผู้ใช้บริการภายใต้แนวคิดการอนุรักษ์พลังงาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภายใต้สภาพธรรมชาติที่ประหยัดพลังงาน ตามแผนการดำเนินโครงการห้องสมุดสีเขียว รวมทั้งใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

ห้องค้นคว้าสำหรับอาจารย์และนักวิจัย

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ปรับปรุงพื้นที่ชั้น 4 ให้เป็นห้องค้นคว้ากลุ่มสำหรับอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 4 ห้อง และห้องค้นคว้าเดี่ยวสำหรับอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 12 ห้อง เพื่อให้อาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ใช้พื้นที่ในการศึกษา ค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการอย่างเป็นอิสระ

browser iphone
image blog

บริเวณพื้นที่ชั้นล่างหลังการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่นั่งอ่าน 24 ชั่วโมง

image blog

บริเวณพื้นที่ชั้นล่างหลังการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่นั่งอ่าน 24 ชั่วโมง

image blog

ป้ายชื่อศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ด้านหน้าประตูทางเข้า

image blog

ห้องสมุด miniTCDC ชั้น 1

image blog

ห้องสมุด miniTCDC ชั้น 1

image blog

ประตูทางเข้า-ออก ชั้นใน

image blog

นิสิต Scan Barcode บัตรประจำตัวนิสิตที่ประตูทางเข้าชั้นใน1

image blog

ลิฟท์โดยสารสำหรับให้บริการนิสิตพิการ

image blog

ห้องหอจดหมายเหตุ ชั้น 2 จัดแสดงนิทรรศการเรื่อง เราภูมิใจ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

image blog

ห้องหอจดหมายเหตุ ชั้น 2 จัดแสดงนิทรรศการเรื่อง เราภูมิใจ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

image blog

ระบียงชั้น 3 หลังการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการจัดสร้างให้เป็นห้องสมุดในสวน

image blog

พื้นที่ชั้น 4 ทิศเหนือ หลังการปรับปรุงให้เป็นห้องค้นคว้ากลุ่ม สำหรับอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 4 ห้อง

image blog

พื้นที่ชั้น 4 ทิศใต้ หลังการปรับปรุงเป็นห้องค้นคว้าเดี่ยวสำหรับอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 12 ห้อง