page loader


Library and Learning Center,University of Phayao

device

1 คณะ 1 โมเดล 1 คณะ 1 โมเดล

นิทรรศการ 1 คณะ 1 โมเดล ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา และสาธารณชนได้รับความรู้ เรื่องราวความเป็นมา และความภาคภูมิใจของผลการดำเนินงานโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ของมหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับทราบผลงานของมหาวิทยาลัย ที่ได้บูรณาการองค์ความรู้ และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา ให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง ได้นำเอาปัญหาของชุมชนมาทำการวิจัยและนำผลการวิจัยไปปรับใช้ ทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันและประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชุมชน ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน”

1 คณะ 1 โมเดล Exhibition

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา สร้างฝายชะลอน้ำ ในโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล เพื่อช่วยควบคุมความเร็วการไหลของน้ำให้ช้าลงในช่วงฤดูฝน และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำ ในฤดูน้ำแล้ง

shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาตร์ ดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล โดยเน้นการวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ตอบสนองความต้องการของภาคประชาชน โดยใช้แนวคิดงานวิจัย Happiness ที่มีตัวชี้วัดความสุข 5 ประการ ตามกรอบแนวคิดการดำรงเลี้ยงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihood) ของ Department of International Development ตามการศึกษาของ Mukherjee, Hardjono & Carriere (2002) ซึ่งประกอบด้วย (1) รายได้เพิ่มขึ้น (2) ความอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้น (3) เพิ่มภูมิคุ้มกัน (4) ความมั่นคงทางด้านอาหารที่ดีขึ้น และ (5) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ในพื้นที่หมู่บ้านสันจกปก ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จัวหวัดพะเยา

Sale
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยพะเยา

คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล จากสถานการณ์ในภัยแล้ง และมลพิษทางอากาศจากการเผาป่าและวัสดุเกษตรของประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน จึงได้ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาอาหารหมักจากเปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเลี้ยงโคขุน ส่งต่อ สวทช.ภาคเหนือ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ )” ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขาเกษตรกรรม พร้อมถ้วยพระราชทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนิสิต นักศึกษาในการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ ได้จัดโครงการอนุรักษ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ตามวิถีชาวเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อให้ได้มาตรฐานและถูกใจผู้บริโภค เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ร่วมดำเนินงานกับจังหวัดพะเยาในการส่งเสริมสินค้าภูมิปัญญาไทลื้อ เพื่อจัดจำหน่ายสินค้า อาทิเช่น ผ้าทอ ตุง สินค้าอื่นๆ ของชาวเชียงม่วน โดยการเน้นพัฒนาภูมิปัญญาของคนไทลื้อในเชียงม่วนให้มีคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าท้องถิ่น

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดทำโครงการวิจัย เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในตำบลแม่กา” โดยได้จัดโครงการย่อย 4 โครงการได้แก่ - โครงการ“การวิจัยและสำรวจความร่วมมือในการจัดการขยะภายในตำบลแม่กา” - โครงการ “ค้นหาภูมิปัญญาร่วมสมัยในการจัดการขยะชุมชนตำบลแม่กา” - โครงการ “การสำรวจความร่วมมือในการจัดการขยะระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย” - โครงการ “สำรวจทัศนคติของประชาชนในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม”

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล โดยได้จัดทำ โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “หมู่บ้านทอผ้าไทลื้อ บ้านทุ่งมอก” เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อของชุมชนชาวไทลื้อจังหวัดพะเยา ทั้งในด้านกระบวนการย้อมสีด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมจากธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น การออกแบบลายผ้าทอร่วมสมัย รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากผ้าทอ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานในด้านการผลิต เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนบ้านทุ่งมอก อ.เชียงคำ จ.พะเยา

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล โดยได้จัดทำโครงการส่งเสริมสนับสนุนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (ปิดทองหลังพระ) เพื่อเริ่มต้นกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางพระราชดำริ และนำมาวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพประชาชน เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างสมดุลและยั่งยืน

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะและการออกแบบ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดทำโครงการ “Mae ka Panoramic : เปิดภาพส่องเมืองผ่านเรื่องศิลปะชุมชน” โดยเปิดให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไปเข้าร่วมในการสร้างสรรค์งานศิลปะกับชุมชน พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีสัมมนาการสร้างสรรค์งานศิลปะกับชุมชนโดยวิทยากรจากหลายศาสตร์หลายแขนง โดยจะใช้พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยาและเทศบาลตำบลแม่กาโดยพื้นที่จะผันแปรตามความเหมาะสม อาทิ เช่น รั้วโรงเรียนหรืออาคารโรงเรียนแม่กาโทกหวาก กำแพงวัดแม่กาไร่ หรืออาคารเทศบาลตำบลแม่กา

-25%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะศิลปศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์ได้นำเสนอผลงาน 1 คณะ 1 โมเดลภายใต้หัวข้อ “จากทฤษฎีสู่การปฏิบัตินวัตกรรมสำหรับครูในยุคศตวรรษที่ 21 (นวัตกรรมนิทาน)” โดยได้ออกแบบการนำเสนอผลงานที่มีชื่อว่า Learning Community – based Story Telling Construction(LCSC) ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมนิทาน โดยมีครูนักวิจัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 10 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1 นำนิทาน 2 ภาษา(ภาษาไทย,ภาษาอังกฤษ) มาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน (วิจัยผ่านนิทาน) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้านภาษาที่ดียิ่งขึ้น

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ชุมชนเป้าหมาย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยลงพื้นที่ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการใช้ยา และ/หรือ การพัฒนาเครื่องมือช่วยในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมการดำเนินงานจะสอดแทรกโครงการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชุมชนเข้าไปในงานวิจัยร่วมด้วย อันจะเป็นการบูรณาการโครงการต่างๆ เข้าร่วมเป็นโครงการวิจัย ใน 1 คณะ 1 โมเดล ได้เป็นอย่างดี

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม

วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดทำโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล โดยลงพื้นที่บ้านโซ้ อ.เมือง จ.พะเยา ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ การทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกองจากซังข้าวโพด และเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร การเพาะเห็ด และการปลูกผักปลอดสารพิษ การสร้างเตาแกลบชีวมวล การสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล โดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านต่อการป้องกันโรคเรื้อรังในชุมชนบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ทำให้ชุมชนได้เห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพดีให้เกิดขึ้นในชุมชนได้อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการกินอาหารให้เป็นยา สร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่คนในชุมชน

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะพยาบาลศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ในพื้นที่ตำบลแม่ใส จังหวัดพะเยา วัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่เป็นของชุมชน โดยชุมชนและเพื่อประโยชน์ของชุมชน เริ่มจากการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน ได้บูรณาการความรู้และการปฏิบัติให้ชุมชนบ้านแม่ใสเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ ด้วยการจัดการขยะระดับครัวเรือน สู่หมู่บ้านน่าอยู่ การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในชุมชน การส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครอบครัว การเสริมสร้างการเรียนรู้สู่ครอบครัวเป็นสุข (ผู้สูงอายุ) โครงการ 3 อ.สู่หมู่บ้านสุขภาพดี และโครงการข่วงผญา : ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพฯ

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล โดยเริ่มจากโครงการหมู่บ้านสุขภาพดีเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา คณะแพทยศาสตร์ได้ส่งนิสิตมาฝึกประสบการวิชาชีพในรูปแบบของทีมหมอครอบครัว (Family Health Team) ทีมละ 12-13 คน ประกอบด้วยนิสิตแพทย์ นิสิตสาขาอนามัยชุมชน สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สาขาการแพทย์แผนจีน และสาขาคู่ขนาน ร่วมดำเนินงานสาธารณสุขตามเกณฑ์การพัฒนาหมู่บ้านสุขภาพดีฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งจังหวัดพะเยา และจังหวัดสิงห์บุรี

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะสหเวชศาสตร์

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล เริ่มตั้งแต่ปี 2554 ภายใต้ชื่อ “แม่ใจหางบ้านโมเดล” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการทำงานโดยชุมชนมีส่วนร่วมและเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินโครงการ คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และคณะสหเวชศาสตร์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้สุขภาพชุมชน ณ บ้านแม่ใจหางบ้าน ตำบลศรีถ้อย ภายใต้กรอบการดำเนินงานคือ “ชุมชนมีส่วนร่วม นิสิตได้ปฏิบัติจริง อาจารย์ได้โจทย์วิจัย”

-50%
shop item

1 คณะ 1 โมเดล

คณะทันตแพทย์ศาสตร์

คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ดำเนินงานโครงการ “การออกแบบเครื่องมือเพื่อรองรับระบบทันตสุขภาพ ที่ใช้ครอบครัวเป็นฐาน ระยะที่ 2 : ชาวห้วยแก้วร่วมใจกำจัดภัยร้าย มะเร็งช่องปาก” (โครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ประจำปี) ให้แก่ชุมชนห้วยแก้ว ตำบลห้วยแก้ว จังหวัดพะเยา