ข้อมูลทั่วไป มลพิษหมอกควันในประเทศไทย

ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ได้แก่ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน บดบังทัศนวิสัย และเป็นอุปสรรคในการคมนาคมและขนส่ง การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าไม้ รวมทั้งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่เป็นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของพื้นที่ ซึ่งความรุนแรงของปัญหาโดยทั่วไปปรากฏชัดเจนในช่วงหน้าแล้ง(ธันวาคม- เมษายน)ของทุกปี ที่มีสภาวะอากาศที่แห้งและนิ่ง ทำให้ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นาน นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเ เนื่องจากความแห้งแล้งที่ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของไฟป่า ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกรจะทำการเผาเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน สำหรับปีที่มีฝนตกน้อยหรือเกิดภาวะแห้งแล้งจะทำให้การชะล้างหมอกควันหรือฝุ่นที่แขวนลอยในอากาศเป็นไปได้น้อย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ภาคเหนือตอนบนประสบปัญหาหมอกควันที่รุนแรงมาก พบว่าระดับหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ขึ้นสูงอย่างมากต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการ รวมถึงการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยตรง จากการติดตามตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2550 - 2553 พบว่าหลายสถานีใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน น่านและแพร่ พบว่า ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี ทีมีการเผาในที่โล่งจำนวนมากทั้งการเผาในพื้นที่ป่า การเผาเศษเหลือจากการเกษตรในพื้นที่เกษคร และการเผาขยะมูลฝอยและเศษใบไม้ กิ่งไม้ในพื้นที่ชุมชน รวมทั้งผลกระทบจากการเผาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน ในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในหลายพิ้นที่และติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวัน ปัญหามลพิษหมอกควันและไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย จากการเผาในที่โล่งในพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่า เป็นปัญหาที่มีความสำคัญระดับชาติ จึงจำเป็นต้องบูรณาการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุน เพื่อให้การป้องกันและควบคุมไฟป่า เพื่อให้การเผาในที่โล่งและการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน ซึ่งประสบกับวิกฤติสถานการณ์หมอกควันในช่วงปี 2550-2553 จึงต้องมีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและให้ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม การป้องกันและแก้ไขปัญหา จะต้องประกอบด้วยการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ และรายงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับจัดฝึกอบรมและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันแบบบูรณาการ: ที่มา http://www.pcd.go.th/

พะเยาเจอปัญหาหมอกควันรุนแรงขึ้น! เร่งฉีดน้ำ หวั่นเด็ก-ผู้สูงอายุป่วย
ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ
โรงพยาบาลลำพูน แนะประชาชนดูแลสุขภาพในช่วงภาวะหมอกควัน

ปัญหาหมอกควัน

สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

สถานการณ์หมอกควันในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ

สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ จ.ลำพูน ขณะนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะยังคงตรวจพบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา จ.ลำพูน ตรวจพบปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 208.13 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตรสูงสุดของประเทศ

แพทย์ มช. เตือนพฤติกรรมเผา เกิดหมอกควันอันตรายอย่างคาดไม่ถึง

ศ.นพ.ดร.พงษ์เทพ วิวัฒนเดช หัวหน้าวิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สารในหมอกควันที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝุ่นขนาดเล็ก และแก๊สพิษ โดยผลจากการตรวจวัดระดับฝุ่นในอากาศในหลายที่ปีผ่านมา พบว่ามีจำนวนมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งสารที่ประกอบในหมอกควันทั้งสองนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบต่างๆ ของร่างกาย คือ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ รวมไปถึงระบบสมอง ก่อให้เกิดโรคเฉียบพลัน อาทิ หลอดลมอักเสบ ไอ หายใจลำบาก อาจจะทำให้โรคที่เป็นอยู่ เช่น หอบหืดหรือถุงลมโป่งพองกำเริบหนักกว่าเดิม

ผลกระทบจากหมอกควัน และการเผา มากกว่าแค่สุขภาพ แต่ยังผลต่อระบบนิเวศ

ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการเผานั้น มีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ บดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดี อย่างไรก็ตามนอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอีกมาก ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้ ผลกระทบต่อสภาวะอากาศโลก ได้แก่ - การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอุณหภูมิสูงขึ้น มีผลต่อสภาวะโลกร้อน - การเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก - หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า ทำลายสุขภาพต่อระบบทางเดินหายใจ (มีผลกระทบโดยตรงต่อ ชาวบ้าน เด็กเล็ก ผู้สูงอายุในชุมชน) - สูญเสียสภาพความสวยงามของธรรมชาติ

สารคดีสั้น "ชุมชนพัฒนา สู้ปัญหาหมอกควัน"

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำสารคดีองค์ความรู้เชิงชีวิตจริง (Reality Feature) ที่เป็นการติดตามผลการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในช่วงสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่นำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ 1) บ้านป่าจั่น อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย 2) บ้านนาบอน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง 3) บ้านแป้นโป่งชัย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 4) บ้านพี้เหนือ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน และ 5) บ้านร่องปอ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา โดยกิจกรรมประกอบด้วย การติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควัน การร่วมปฏิบัติการดับไฟ การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งชุมชน และการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คลิ๊กเพื่อชมสารคดี "ชุมชนพัฒนา สู้ปัญหามอกควัน"

การจัดการปัญหาในอนาคต

อากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงจำเป็นต้องหามาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

ติดต่อเรา

กิจกรรมรณรงค์ป้องกันไฟป่าและหมอกควัน

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

Address

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2

ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา

56000