ครกหิน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ชุมชนบ้านงิ้ว ม.6 ต.บ้านสาง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางระหว่างดอยบุษราคัมกับกว๊านพะเยา เริ่มมีการทำครกหินมากว่าร้อยปีแล้ว โดยช่างแกะสลักพระชื่อว่า “สล่าจ๋อย” (สล่า เป็นภาษาคาเมืองหมายถึง ช่าง) ได้ริเริ่มนาหินมาแกะเป็นครก จากนั้นชาวบ้านได้หันมาทำตามและในที่สุดก็ทำเหมือนกันเกือบทั้งหมู่บ้านจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี
          สมัยก่อน ชาวบ้านทั่วไปในจังหวัดพะเยา นิยมใช้ครกไม้และครกดินเผาในการประกอบอาหาร แต่เนื่องจากครกไม้และครกดินเผานั้นตำน้าพริกได้ละเอียดช้า จึงได้มีคนคิดริเริ่มนำหินมาแกะสลักทำครกเพื่อใช้โขลกน้ำพริก ซึ่งสามารถตำได้ละเอียดและรวดเร็วกว่า
          สล่าจ๋อย สมเครือ เป็นผู้ริเริ่มนำหินมาแกะเป็นครก โดยนำหินซึ่งเป็นหินทรายมาจากห้วยแม่ตุ่น และห้วยแม่แฮ้ อยู่ติดเชิงดอยหลวง ห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร มาแกะสลักพระพุทธรูป แต่การประกอบอาชีพนี้เป็นการยากที่จะพัฒนาตนเองให้ทันต่อยุคสมัย และความต้องการของสังคม ดังนั้น อาชีพการแกะสลักพระพุทธรูปจึงเป็นอาชีพที่อยู่ในวงแคบและจำกัดด้วยฝีมือ ส่วนมากจึงหันมาสกัดครกหินเพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าหลัก ซึ่งได้ผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่า รูปทรงของครกของสล่าจ๋อย สมัยแรกไม่เหมือนปัจจุบัน ตัวครกจะมีฐานและมีหูจับคล้ายถ้วยรางวัล ต่อมาได้มีชาวไทยใหญ่ชื่อส่างยี และส่างอุ่น เดินทางจากประเทศพม่าเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านนี้ ได้เป็นผู้ริเริ่มทำครกตำข้าว หรือมอง ในภาษาล้านนา แต่มีความแตกต่างจากครกหิน กล่าวคือ ครกตำข้าวนี้ทำด้วยไม้ และมีขนาดใหญ่กว่าครกหินมาก
          ปัจจุบันหินทรายที่ห้วยแม่ตุ่นและห้วยแม่แฮ้ได้หมดไป ประกอบกับเนื้อหินทรายมีความเปราะบางเกินไป ชาวบ้านจึงไปเอาหินอัคนี หรือหินแกรนิตที่มีคุณภาพที่แข็งและดีกว่า จากตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา มาสกัดเป็นครกหินแทน
          ครกหินบ้านงิ้ว มีขนาดจิ๋วสุดคือตั้งแต่ 5 นิ้ว และมีขนาดใหญ่สุดอยู่ที่ 9 นิ้ว ราคาอยู่ในช่วงระหว่าง 150-300 บาท ซึ่งถือเป็นราคามาตรฐาน ในแต่ละวันครกที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงในหมู่บ้านเพื่อนาไปจาหน่ายตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ครกหินบ้านงิ้วจึงถือเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาแห่งจังหวัดพะเยา
http://www.banngiew.com/index.php

PDF