หมู่บ้านโคขุนดอกคำใต้

หมูู่บ้านโคขุนดอกคำใต้         

          ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เป็นแหล่งผลิตโคขุนคุณภาพดีของจังหวัดพะเยา มีผู้นำกลุ่ม คือ นายมานิต อินต๊ะสาร เดิมมีการเลี้ยงโคเนื้อแบบโคฝูงที่ยังไม่ได้มีการขุนแบบโคเนื้อคุณภาพอย่างเป็นระบบ แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้หันมาเลี้ยงโคเนื้อโดยการขุนโคคุณภาพ คือ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ได้ตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อและได้รับทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนากระบวนการเลี้ยงโคขุนจากสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดพะเยา เพื่อไปศึกษาการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพ แต่พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงยังมีต้นทุนที่สูง เนื่องจากการต้องซื้ออาหารข้นและกากเบียร์จากภาคกลางเพื่อมาเลี้ยงโคขุน ในปี พ.ศ. 2556 จากสถานการณ์ในภัยแล้ง และมลพิษทางอากาศจากการเผาป่าและวัสดุเกษตรของประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน จึงได้ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง  การพัฒนาอาหารหมักจากเปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเลี้ยงโคขุน ส่งต่อสวทช.ภาคเหนือ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยแนวคิดแรก คือ เพื่อเป็นแก้ปัญหาของการขาดพืชอาหารสัตว์ในหน้าแล้งและลดการเผาในแปลงเกษตรเพื่อลดหมอกควัน และเริ่มทดสอบที่ฟาร์มโคขุนของนายมานิต อินต๊ะสาร เป็นแห่งแรก โดย ทางคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้เริ่มพัฒนาโครงการที่สร้างขบวนการขับเคลื่อนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีความร่วมมือกับสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดพะเยา และ สวทช.ภาคเหนือ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำหรับการดำเนินงานเบื้องต้นที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์บริการเพื่อการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งมีมากในจังหวัดพะเยา ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2557-2558 ทางมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ขยายความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ในการทำบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Understanding, MOU) ในการวิจัย การบริการและการเรียนการสอน โดยมีสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยพะเยา โดยงบสนับสนุนของ สวทช.ภาคเหนือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จัดตั้งเป็น “ศูนย์การบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีชีวภาพด้านปศุสัตว์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนด้านอาหารพลังงานและลดการเผาแก่เกษตรกร พื้นที่สูงกลุ่มภาคเหนือตอนบนสอง (พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน)” ได้รับรางวัลชนะเลิศสาขาเกษตรกรรม พร้อมถ้วยประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนิสิต นักศึกษาในการทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน โดยบริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง  

ที่มา : โครงการ 1 คณะ 1 โมเดล มหาวิทยาลัยพะเยา 

PDF