ผ้าทอไทลื้อ

ผ้าทอไทลื้อบ้านทุ่งมอก

          ประวัติความเป็นมา ผ้าทอไทลื้อบ้านทุ่งมอก อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผ้าทอไทลื้อ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางภาคเหนือของประเทศไทยมานานกว่า 200 ปี สำหรับชาวไทลื้อเชียงคำนั้น สันนิษฐานว่าอพยพมาจากอำเภอเชียงม่วน มาตั้งรกรากอยู่ เมื่อประมาณ 200 ปี โดยชาวไทลื้อมีประเพณีวัฒนธรรมของตนเองซึ่งยังคงรักษาไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ภาษา ประเพณีและความเชื่อถือทางศาสนา มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะการทอผ้าของชาวไทลื้อ ซึ่งเดิมทอผ้าไว้สำหรับใช้ในครัวเรือนและลวดลายในการทอเป็นการทอสลับสีและมีมุก 2 มุก มีเกาะ 1 เกาะ ซึ่งยังทอกันมาจนถึงปัจจุบันต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาลวดลายเพิ่มสีสันให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นการประยุกต์ให้มีลวดลายต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ลายขิด ลายน้ำไหล และลายจก โดยส่วนใหญ่จะทดเพื่อนำมาเป็นผ้านุ่งของสตรี ซึ่งเรียกกันว่า “ซิ่นลื้อ” ซึ่งหมายถึงผ้าซิ่นของชาวไทลื้อ ซิ่นลื้อ มีเอกลักษณ์ตามตัวไม่เปลี่ยนแปลง ทอด้วยเส้นด้ายพุ่งสีต่างๆ ทอลายขวางลำตัวอยู่กลางตัวซิ่น สลับริ้วสีพื้นโดยมีช่องของลายเท่าๆ กัน ตัวซิ่นเก็บลายดอกมุก 2 ข้าง ลายเกาะดอก ผักแว่นเป็นลายขวาง กว้างประมาณ 1 นิ้ว อยู่ตรงกลางโดยใช้กี่กระตุกขนาด 70 นิ้ว และ 100 นิ้ว ในการทอ

ที่มา : http://phayaofocus.com/home/index.php?o ... 7&Itemid=1

PDF